สัดส่วนภายนอก
ซัม ซุงเป็นอีกยี่ห้อที่สร้างความประทับใจเรื่องงานประกอบและวัสดุได้เสมอๆ ตั้งแต่สมัยก่อนมาจนถึงบัดนี้ก็ยังรักษามาตรฐานของตัวเองไว้ได้ แล้วถ้าเป็นมือถือทรงแท่งอย่าง L700 ล่ะ รบกวนเวลาทุกท่านมาร่วมพิสูจน์กับผมดีกว่า รับประกันได้ว่าไม่ผิดหวัง
สีสัน บนเครื่องบ่งบอกไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า L700 ต้องเป็นโลหะไม่ส่วนใดก็ส่วนหนึ่ง ถ้าลองมาพิจารณากันใกล้ๆ จะเห็นว่ากรอบชิ้นหน้า แผงปุ่มกดส่วนบน และฝาครอบแบตเตอรี่ล้วนเป็นโลหะทั้งนั้น ความแข็งแรงอยู่ในระดับดีมาก ยิ่งเป็นมือถือทรงแคนดี้บาร์ด้วยแล้ว ยิ่งไม่มีชิ้นส่วนให้เคลื่อนไหวเข้าไปอีก
เท่าที่ดูจากการออกแบบ จะเห็นว่าซัมซุงรุ่นเล็กตัวนี้ให้น้ำหนักไปทางเรโทรมากกว่าโมเดิร์น ดูได้จากปุ่มกดแบบสี่เหลี่ยมที่เรียงกันเป็นตับ ปุ่มห้าทิศที่ไม่ใช้รูปทรงกลม กอปรกับเส้นสายและสีสันรอบเครื่องที่ดูเรียบง่าย ผมไม่ได้หมายความว่ามันเชยนะ มันออกจะสวยแบบคลาสสิกด้วยซ้ำ คุณเห็นด้วยหรือเปล่าครับ?
มาอธิบายอวัยวะบนเรือนร่างของ L700 กันต่อ ด้านซ้ายไล่จากบนลงล่างเป็นปุ่มปรับระดับเสียงและพอร์ตของซัมซุง ด้านขวามีชัตเตอร์ที่วางอยู่โด่เด่ตรงกลาง ถัดลงมาเป็นรูเสียบการ์ด ด้านบนเป็นหัวโล้นๆ ไม่มีอะไรให้เห็น ขณะที่ด้านล่างมีไมโครโฟนกับรูร้อยสาย ทั้งหมดวางตัวอยู่อย่างสบายๆ ไม่เบียดกัน
การถอดฝาหลังทำได้โดยการเลื่อนออกไปทางด้านบนซึ่งดู แล้วแข็งแรงดีอยู่ แต่อาจไม่แน่นหนานักเมื่อเทียบกับรุ่นที่มีตัวล็อคให้ต่างหาก ส่วนเลนส์รับภาพและแฟลชจะโผล่ทะลุฝาหลังขึ้นมาตรงช่องเล็กๆ ด้านบน ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ดี เมื่อตะแคงเครื่องเพื่อถ่ายรูปจะไม่โดนนิ้วบังสักนิดเลย
ชำแหละเครื่องใน
เปิด ตัวออกมาในราคาระดับครึ่งหมื่น ถือเป็นตำแหน่งของมือถือระดับกลางค่อนไปทางล่าง และเมื่อพิจารณาในเรื่องฟังก์ชั่นก็พอเป็นเหตุให้ L700 อยู่ตรงนั้นจริง กล้องดิจิตอลเรโซลูชั่น 2 ล้านพิกเซลเห็นกันได้บ่อยในโทรศัพท์ระดับเดียวกัน ถ้าเป็นของโนเกียก็ต้องเป็นรุ่นพวก 6300 หรือ 6500 classic โน่น แถมความละเอียดของการถ่ายวิดีโอก็เท่าเทียมกันที่ 176 x 144 พิกเซลด้วย ส่วนแฟลชนี่ใช้ได้ทุกโหมด ติดเพียงแค่ว่ากำลังไฟแบบแอลอีดีมันเบาเหลือเกิน ประสิทธิภาพในการถ่ายที่มืดจึงลดลงตาม
ถ้ามองหามือถือราคาแถวๆ นี้ จะพบได้ว่ามีน้อยรุ่นเหลือเกินที่สามารถอ่านไฟล์เอกสารได้ ยกเว้น L700 ของเรา (หรือของใคร) ไฟล์มาตรฐานทั้งห้าประกอบไปด้วยของไมโครซอฟต์ซะสี่ อโดบี้อีกหนึ่ง การแสดงตัวหนังสือบนหน้าจอขนาดเล็กที่มีความละเอียดต่ำอาจไม่ชัดเจนนัก แต่คงไม่มีใครเอาโทรศัพท์ธรรมดามาเปิดดูรายงานเป็นร้อยหน้าหรอกมั้ง และแน่นอนว่าการแก้ไข (edit) ก็ทำไม่ได้เช่นกัน
นึกว่าจะทิ้งกันไป เสียแล้ว ที่ไหนได้เอดจ์ยังอยู่มาคู่กับจีพีอาร์เอส ไหนจะมีบลูทูธสำหรับใช้งานกับหูฟังหรือรับส่งข้อมูลกับเครื่องอื่น เบราเซอร์ในตัวมีการติดตั้งทางลัดเข้าสู่กูเกิ้ลเสิร์ชและจีเมล์เอาไว้ให้ พร้อม จึงไม่ต้องทำบุ๊คมาร์คขึ้นมาอีก กระนั้นเอง บางคนคิดว่ามีหรือไม่มีก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร
ลองคุ้ยแคะออกมา เพิ่มเติม L700 ยังมีคุณสมบัติที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง ได้แก่ การเก็บข้อความสั้นได้มากถึง 500 ข้อความ เครื่องเล่นเพลงที่เล่นพอดคาสต์ได้ หรือจะเป็นการใส่เอฟเฟ็คบนหน้าจอสแตนด์บายและสร้างเป็นวอลเปเปอร์แบบสไลด์ โชว์ ในทางกลับกัน ผมเซ็งที่มันดูวิดีโอตามแนวนอนของจอไม่ได้ แถมขนาดต้องไม่ใหญ่ไปกว่าเรโซลูชั่นของจออีก
กูรูฟันธง
นอก จากจะพิจารณาซื้อโทรศัพท์สักเครื่องจากฟังก์ชั่นแล้ว หลายคนยังดูเรื่องงานประกอบและวัสดุด้วยเช่นกัน เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราเห็นอยู่ตลอดเวลา แม้จะไม่ได้กดใช้งานก็ตาม เรียกว่าหน้าตาดีมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว ในขณะเดียวกัน พอกันกลับมาพิจารณางบประมาณในคลัง มือถือวัสดุดีมักจะมีราคาแพงเสมอ คาดว่าซัมซุงคงมองเห็นช่องว่างตลาดตรงนี้ และส่ง L700 มาเกิดเพื่อตอบสนองความต้องการคนงบน้อยซะ ถ้าคุณได้ลองสัมผัสซัมซุงรุ่นนี้ดูแล้ว ไม่แน่ว่าอาจติดมือกลับบ้านมาเลยก็ได้
ข้อดี
- วัสดุเยี่ยม งานประกอบยอด
- กล้องดิจิตอล 2 เมกะพิกเซล พร้อมแฟลช
- รองรับเอดจ์และบลูทูธ
- ระบบสมาร์ท เสิร์ชที่มีในมือถือซัมซุงเกือบทุกรุ่นแล้ว
- การอ่านไฟล์เอกสาร
- วิทยุเอฟเอ็มและเครื่องเล่นเพลง
- การใช้งานร่วมกับบริการจากกูเกิ้ล
ข้อเสีย
- ไฟส่องถ่ายภาพและวิดีโอค่อนข้างเบา
- หน้าจอมีความละเอียดน้อยเกินไป
- ถ่ายวิดีโอได้แค่ระดับคิวซีไอเอฟ
- ไม่รองรับการเล่นวิดีโอในแนวนอน และมีข้อจำกัดในเรื่องขนาด
ข้อมูลจาก : whatphone
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น